วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล



แบบทดสอบ
1.บอกความหมายของ ข้อมูลตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ตอบ ข้อมูล คือ  ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
สําหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคํานวณ.



2.อธิบายลักษณะสำคัญของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
ตอบ    ลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้  6   ประเภท คือ
         
1.  ความรวดเร็ว

         
2.  หน่วยความจำ

         
3.   การทำงานอัตโนนัติ
         
4.   การเก็บรักษาข้อมูลหรือโปรแกรม
         
5.   ความถูกต้องและความเชื่อถือได้
          6.  
การใช้งานได้หลาย ๆ ด้าน

3. อธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูล
ตอบ  ข้อมูล ( Data ) คือ ข้อเท็จจริงๆต่างซึ่งอาจเป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้
โครงสร้าง ( Structure ) คือ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม
โครง สร้างข้อมูล ( Data Structure ) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้นๆ รวมทั้งกระบวนการในการจัดการข้อมูลในโครงสร้าง เช่น เพิ่ม แก้ไข ลบ
ตัวอย่างของโครงสร้างข้อมูลประเภทต่างๆ ได้แก่ แถว ลำดับ ลิสต์ สแตก คิว ทรี และกราฟ เป็นต้น

4. อธิบายลักษณะสำคัญของโครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
ตอบ โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ ( Physical Data structure )ไม่มีการคำนวณ เป็นการเป็นการเปรียบเทียบ สามารถเห็นและจับต้องได้ ข้อมูลที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น ข้อมูลดิบ
-ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ จำนวนเต็ม (จำนวนเต็มบวก,จำนวนเต็มลบ,จำนวนเต็มศูนย์) จำนวนจริง (มีจุดทศนิยม) และตัวอักขระ
-ข้อมูลโครงสร้าง ได้แก่ แถวลำดับ ระเบียนข้อมูล แฟ้มข้อมูล

5.อธิบายลักษณะสำคัญของโครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ

ตอบ โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ ( Logical Data Structure) จะมีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงจำนวน และได้มีการประมวลมาแล้ว
-ข้อมูลแบบเชิงเส้น บอกความสัมพันธ์ บอกความเกี่ยวโยง ได้แก่ ลิสต์ แสตก คิว สตริง
-ข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น ได้แก่ ทรี กราฟ


6.อธิบายลักษณะสำคัญของ Pimitive Data Types
ตอบ  ชนิดข้อมูลที่ สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นข้อมูลทั่วไปหรือข้อมูลพื้นฐาน ภาษาจาวาถูกออกแบบให้มีชนิดข้อมูลพื้นฐาน เนื่องจากผู้ออกแบบต้องการให้ผู้ที่สนใจภาษาจาวาและเคยเขียนโปรแกรมมาก่อน สามารถเข้าใจภาษาจาวาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
         - จำนวนเต็ม (Integer)
          - จำนวนทศนิยม (Floating point)
          - ข้อมูลบูลีน (Boolean)
          - จำนวนจริง (Real)
        - ข้อมูลอักขระ (Character)

7.อธิบายลักษณะสำคัญของ Structure Data Types

ตอบ    - แถวลำดับ (Array)
            - ระเบียนข้อมูล (Record)
            - แฟ้มข้อมูล (File)

8.อธิบายลักษณะสำคัญของโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
โครงสร้างที่มีการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะต่อเนื่องกัน ถ้าทราบตำแหน่งแรกของข้อมูลก็สามารถทราบตำแหน่งข้อมูลตัวถัดไปหรือข้อมูลตัวอื่นได้ ทางคณิตศาสตร์จะเรียกว่า เวกเตอร์ (Vector) ข้อมูลมีลักษณะเป็น 1 มิติ เช่น อาเรย์, สแตก, คิว, ลิสต์
ตัวอย่าง
9.อธิบายลักษณะสำคัญของโครงสร้างข้อมูลแบบไม่เป็นเชิงเส้น พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ โครงสร้างที่ไม่มีคุณสมบัติของเชิงเส้น สามารถใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซับซ้อนได้มากกว่าโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นเช่น ทรี, กราฟ
ตัวอย่าง

10.เขียนผังแสดงการจัดหมวดหมู่โครงสร้างข้อมูลคอมพิวเตอร์ พร้อมอธิบาย

ตอบ
1.โครงสร้างข้อมูลเบื้องต้น (Primitive Data Structure) เป็นชนิดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างข้อมูลอื่นมาเป็นส่วนประกอย เมื่อต้องการเก็บค่าสามารถเรียกใช้งานได้ทันที บางครั้งเรียกว่าชนิดข้อมูลพื้นฐาน (Base Type) หรือสร้างมาให้ใช้ด้วยภาษานั้น ๆส่วนโครงสร้างข้อมูลแบบอื่น ๆ จะมีโครงสร้างข้อมูลอื่นเป็นส่วนประกอบ เมื่อต้องการใช้จะต้องกำหนดรูปแบบรายละเอียดโครงสร้างขึ้นมาก่อนเรียกว่าข้อมูลชนิดผู้ใช้กำหนด(Uses-defined Type) ดังนี้
2.โครงสร้างข้อมูลแบบเรียบง่าย (Simple Data Structure) จะมีสมาชิกที่เป็นโครงสร้างข้อมูลอื่นเป็นส่วนประกอบ มีรูปแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน สามารถทำความเข้าใจและสร้างขึ้นมาใช้งานได้ง่าย
3.โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น (Linear Data Structure) เป็นโครงสร้างที่ความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นโครงสร้างข้อมูลอื่นจัดเรียงต่อกันเป็นแนวเส้น
4. โครงสร้างข้อมูลไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear Data Structure) เป็นโครงสร้างที่มีความซับซ้อนเช่นกัน ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นโครงสร้างข้อมูลอื่นจัดเรียงกันในรูปแบบไบนารี่ ที่จัดเรียงสมาชิกมีการแยกออกเป็นสองทาง และแบบ N- อาร์เรย์ ที่จัดเรียงสมาชิกมีการแยกออกได้หลายทางหลายรูปแบบไม่แน่นอน5.โครงสร้างการจัดการแฟ้มข้อมูล (File Organization) เป็นโครงสร้างสำหรับนำข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง โดยข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบโครงสร้างข้อมูลอื่น และมีวิธีการจัดการโดยการนำโครงสร้างข้อมูลอื่น ๆ มาช่วยโครงสร้างข้อมูลต่าง ๆที่กล่าวมาอาจต้องมีการควบคุมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและส่วนที่มาเกี่ยวข้องให้เป็นไปตามที่ต้องการเรียกว่า โครงสร้างข้อมูลนามธรรม ลักษณะโครงสร้างจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนข้อมูลและส่วนปฏิบัติการ โดนภายในจะมีรายลเอียดการทำงานต่าง ๆ ประกอบด้วยโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลและอัลกอริทึม เมื่อใดที่เรียกใช้งานโครงสร้างนามธรรมในส่วนรายละเอียดการทำงานจะไม่ถูกเกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบโดยถูกปิดบังไว้ จะเห็นว่าโครงสร้างข้อมูลซับซ้อนจะเป็นโครงสร้างข้อมูลนามธรรมที่ต้องมีส่วนการจัดเก็บข้อมูลและส่วนปฏิบัติการ

11.ยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาโครงสร้างข้อมูล และการนำโครงสร้างข้อมูลไปใช้งาน พร้อมอธิบายโดยละเอียด
ตอบ ครงสร้างข้อมูล เป็นการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถเลือกใช้อัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมกันได้ การเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกแบบชนิดข้อมูลนามธรรม โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วง โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ
โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ อย่างเช่น ต้นไม้แบบบี
จะเหมาะสำหรับระบบงานฐานข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น